วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เลือกตั้ง54

   
ที่มาของ ส.ส.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2554 กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

   ส.ส. แบบแบ่งเขต
          ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งประเทศออกเป็น 375 เขต เกิดจากการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 375 คน เช่น ราษฎรทั้งประเทศ จำนวน 63,878,267 ล้านคน หารด้วย 375 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยราษฎร 170,342 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรมี ส.ส. จำนวนเท่าเทียมกันโดยประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความ เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐีก็มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตให้ทำเครื่องหมาย x กากบาทเลือกได้เพียงหมายเลขเดียวหรือเบอร์เดียว ดังที่เรียกว่า “เขตเดียว เบอร์เดียว”


   ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน
          ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
           การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย x กากบาท เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว ได้เพียงหมายเลขเดียว หรือเบอร์เดียว นั่นก็หมายถึงผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในสังกัดของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบนั่นเอง ส่วนที่ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนเท่าใดก็ขึ้นกับว่าพรรคนั้นๆ จะได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องมาจากบัญชีรายชื่อเรียงตามลำดับจนกว่าจะครบจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

   วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้ง
นำจำนวนคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนน ให้แก่พรรคการเมืองทุกพรรคมารวมกัน
ผลลัพธ์ตามข้อ 1 หารด้วยจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน
ผลลัพธ์ตามข้อ 2 ไปหารคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ก็จะได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค
ตามข้อ 3 ถ้ายังไม่ได้ครบ 125 คนให้ดูว่าพรรคการเมืองใดมีเศษเหลือมากที่สุดไล่ไปพรรคการเมืองที่มีเศษรองลงไปเรื่อยๆจนครบ 125 คน


          สมมุติว่ามีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ รวม 8 พรรค มีคะแนนรวมทั้งประเทศ ดังนี้

ที่    พรรคการเมือง    ได้คะแนน    จำนวน ส.ส. จากการ
คำนวณครั้งแรก    เหลือเศษ    จำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่ม
จากการคำนวณ    ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ทั้งสิ้น
1
2
3
4
5
6
7
8

พรรค ก.
พรรค ข.
พรรค ค.
พรรค ง.
พรรค จ.
พรรค ฉ.
พรรค ช.
พรรค ซ.   
12,600,000 
8,450,000 
2,900,000 
2,800,000 
1,550,000 
1,550,000 
300,000 
150,000 

51
34
11
11
6
6
1
-   

0.980
0.859
0.963
0.551
0.394
0.394
0.237
0.618


1
1
1
1
-
-
-
1    52
35
12
12
6
6
1
1
รวม      120    -    5    125
หมายเหตุ ผลการคำนวณครั้งแรกได้ ส.ส. 120 คน ดังนั้น จำนวน ส.ส. อีก 5 คนที่เหลือ จะมาจาก 5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเหลือเศษมากที่สุด พรรคละ 1 คน ไล่เรียงตามลำดับคือ พรรค ก. พรรค ค. พรรค ข. พรรค ซ และ พรรค ง.

         โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
รวมคะแนนทุกพรรค 30,300,000 คะแนน
คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส. 1 คน คือ คะแนนรวมทุกพรรค หารด้วย 125 กรณีนี้คือ 30,300,000 คะแนน หารด้วย 125 เท่ากับ 242,400 คะแนน
คะแนนรวมของแต่ละพรรคหารด้วยคะแนนเฉลี่ย ผลที่ได้คือจำนวน ส.ส. ของพรรคในเขตนั้นๆ หากคำนวณแล้วได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่ครบ 125 คน ให้นำเศษของคะแนนในแต่ละพรรคการเมืองที่ได้มาจัดลำดับจนครบ
          ตัวอย่าง : พรรค ก. ได้คะแนน 12,600,000 คะแนน หารด้วย 242,400 คะแนน ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 51.980 ก็จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 51 คน เหลือเศษ .980 คะแนน