วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เลือกตั้ง54

   
ที่มาของ ส.ส.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2554 กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

   ส.ส. แบบแบ่งเขต
          ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งประเทศออกเป็น 375 เขต เกิดจากการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 375 คน เช่น ราษฎรทั้งประเทศ จำนวน 63,878,267 ล้านคน หารด้วย 375 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยราษฎร 170,342 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรมี ส.ส. จำนวนเท่าเทียมกันโดยประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความ เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐีก็มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตให้ทำเครื่องหมาย x กากบาทเลือกได้เพียงหมายเลขเดียวหรือเบอร์เดียว ดังที่เรียกว่า “เขตเดียว เบอร์เดียว”


   ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน
          ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
           การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย x กากบาท เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว ได้เพียงหมายเลขเดียว หรือเบอร์เดียว นั่นก็หมายถึงผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในสังกัดของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบนั่นเอง ส่วนที่ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนเท่าใดก็ขึ้นกับว่าพรรคนั้นๆ จะได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องมาจากบัญชีรายชื่อเรียงตามลำดับจนกว่าจะครบจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

   วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้ง
นำจำนวนคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนน ให้แก่พรรคการเมืองทุกพรรคมารวมกัน
ผลลัพธ์ตามข้อ 1 หารด้วยจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน
ผลลัพธ์ตามข้อ 2 ไปหารคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ก็จะได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค
ตามข้อ 3 ถ้ายังไม่ได้ครบ 125 คนให้ดูว่าพรรคการเมืองใดมีเศษเหลือมากที่สุดไล่ไปพรรคการเมืองที่มีเศษรองลงไปเรื่อยๆจนครบ 125 คน


          สมมุติว่ามีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ รวม 8 พรรค มีคะแนนรวมทั้งประเทศ ดังนี้

ที่    พรรคการเมือง    ได้คะแนน    จำนวน ส.ส. จากการ
คำนวณครั้งแรก    เหลือเศษ    จำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่ม
จากการคำนวณ    ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ทั้งสิ้น
1
2
3
4
5
6
7
8

พรรค ก.
พรรค ข.
พรรค ค.
พรรค ง.
พรรค จ.
พรรค ฉ.
พรรค ช.
พรรค ซ.   
12,600,000 
8,450,000 
2,900,000 
2,800,000 
1,550,000 
1,550,000 
300,000 
150,000 

51
34
11
11
6
6
1
-   

0.980
0.859
0.963
0.551
0.394
0.394
0.237
0.618


1
1
1
1
-
-
-
1    52
35
12
12
6
6
1
1
รวม      120    -    5    125
หมายเหตุ ผลการคำนวณครั้งแรกได้ ส.ส. 120 คน ดังนั้น จำนวน ส.ส. อีก 5 คนที่เหลือ จะมาจาก 5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเหลือเศษมากที่สุด พรรคละ 1 คน ไล่เรียงตามลำดับคือ พรรค ก. พรรค ค. พรรค ข. พรรค ซ และ พรรค ง.

         โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
รวมคะแนนทุกพรรค 30,300,000 คะแนน
คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส. 1 คน คือ คะแนนรวมทุกพรรค หารด้วย 125 กรณีนี้คือ 30,300,000 คะแนน หารด้วย 125 เท่ากับ 242,400 คะแนน
คะแนนรวมของแต่ละพรรคหารด้วยคะแนนเฉลี่ย ผลที่ได้คือจำนวน ส.ส. ของพรรคในเขตนั้นๆ หากคำนวณแล้วได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่ครบ 125 คน ให้นำเศษของคะแนนในแต่ละพรรคการเมืองที่ได้มาจัดลำดับจนครบ
          ตัวอย่าง : พรรค ก. ได้คะแนน 12,600,000 คะแนน หารด้วย 242,400 คะแนน ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 51.980 ก็จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 51 คน เหลือเศษ .980 คะแนน


    

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทดสอบสร้างบล็อก

วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ 2554   เวลา 9.17
ณ ห้อง i mac โรงเรียน ภูเขียว  อำเภอ ภูเขียว  จังหวัด ชัยภูมิ
เนื้อหา    เป็นเนื้อหาที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก
ความรู้สึก     เป็นเว็ปที่มีความสับสนเล็กน้อยทำให้ไม่เข้าใจในบางตอน